การแ่บ่งเกรดซากโค


การแบ่งเกรดซากโค

          เกรดคุณภาพซาก แบ่งออกเป้น 7 เกรดตามมาตรฐาน กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ดูจากไขมันแทรก ความแน่น สีเนื้อ และลักษณะเนื้อ
 1.ชั้นดีเยี่ยม (Prime) ส่วนมากเป็นซากที่ได้จากโคอายุน้อย
 2.ชั้นดี (Choice) ระหว่าง 9-42 เดือน (3 ปีครึ่ง)
 3.ชั้นกลาง (Good) มีไขมันแทรกปานกลางถึงสูงสุด
 4.ชั้นทั่วไป (Standard)
 5.ชั้นตลาด (Commercial) ส่วนมากเป็นซากที่ได้จากโคอายุมาก
 6.ชั้นพื้นบ้าน (Utility) อายุตั้งแต่ 42 เดือน เป็นต้นไป มีไขมันแทรก
 7.ชั้นต่ำและต่ำมาก (Cutter and Canner) ต่ำสุด ถึง สูงที่สุด

ชิ้นส่วนที่ได้จากการชำแหละซากโคขุน

          การชำแหละซากแบบสากลจะได้ชิ้นส่วนต่างๆ คิดเป็นเปอร์เซนต์ซากโดยประมาณ ดังนี้
 สะโพก
23
% พื้นอก
8
% 
 สันส่วนหน้า
9
% พื้นท้อง
5
% 
 สันส่วนกลาง
8
% อกหรือเสือร้องไห้
5
% 
 สันส่วนหลัง
9
% แข้งหน้า
4
% 
 ไหล่
26
% ไขมันหุ้มไต
3
% 




ต้นทุนการเลี้ยงโคขุน

          ต้นทุนในการเลี้ยงโคขุนส่วนใหญ่จะเป็นค่าพันธุ์และค่าอาหาร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 81.63-86.55 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ค่าพันธุ์โคขึ้นอยู่กับพันธุ์และขนาดของโคที่ซื้อมาขุน ค่าอาหารขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัตถุดิบที่นำมาผสม ตลอดจนปริมาณการให้อาหารข้นซึ่งสอดคล้องกับระยะเวลาการขุนด้วย

 
สรุป

          การเลี้ยงโคขุนสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรและสามารถยึดเป็นอาชีพได้ แต่เกษตรกรจะต้องคำนึงถึงเรื่องตลาดเป็นปัจจัยสำคัญ ว่า เมื่อขุนโคเสร็จแล้วจะจำหน่ายให้ใคร ที่ไหน เพราะโคที่ขุนได้ขนาดหรือน้ำหนักเต็มที่แล้ว จำเป็นต้องขาย ถ้าเลี้ยงดูต่อไปจะขาดทุน นอกจากนั้น การเลี้ยงโคขุนยังมีปัจจัยหรือตัวแปรอีกหลายอย่างที่ทำให้เกษตรกรได้กำไรหรือขาดทุน เช่น ราคาโคที่ซื้อมาขุน ราคาโคที่ขายได้เมื่อขุนเสร็จแล้ว อัตราการเจริญเติบโตของโค ราคาอาหารข้น ราคาอาหารหยาบ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าแรงงาน ค่าดอกเบี้ย เป็นต้น ดังนั้น ก่อนที่เกษตรกรจะตัดสินใจเลี้ยงโคขุน ขอให้คิดถึงความพร้อมดังกล่าว หากมีข้อสงสัยหรือต้องการขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดที่อยู่ในท้องถิ่นของท่าน หรือสำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมปศุสัตว์ โทร.0-2653-4468